flure- ยื้อ

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติเพลงชาติไทย


เพลงชาติไทยแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ซึ่งประกาศใช้ในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)

ส่วนที่เหลือ ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414 ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษ หมด ดังนั้นเพลง กอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2395 ถึง 2414 เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพ แด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1 “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”
ในยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงคโปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้น ของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาต ิที่มีความเป็นไทย มาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบัน หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสม เด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็น สากลขึ้น โดย เฮวุดเซน (Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. 2414-2431
เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เช่นกัน โดยประพันธ์ทำนองโดย นักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง
เพลงชาติลำดับที่ 4 เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (24 มิถุนายน 2475) แล้ว เพลงชาติลำดับนี้เป็นเพลงชาติชั่วคราว (เนื่องจากมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้างเพลงชาติขึ้นมาใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม คือเพลงมหาชัย ไปพลางก่อน) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง ซึ่งมีเนื้อหาปลุกใจให้คนไทยเกิดความรักชาติ และเกิดความสามัคคี ตลอดจนให้เลื่อมใสในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้

ยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ
ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน ธรรมนูญสถาปนาพรรษาใหม่
ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า

เพลงชาติลำดับนี้ใช้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ถึง 1 เดือน ก็เปลี่ยนแปลงไป
: เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ

เพลงชาติลำดับที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2475 และประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2475 แต่ก็ใช้อยู่เพียงระหว่าง ปี 2475 – 2477 โดยมีเนื้อร้องดังนี้

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา ร่วมรักษาเอกราชชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของชาติไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราชคือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสรเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เชิดชัย ชโย

กำเนิดของเพลงชาติลำดับที่ 6 นั้น สืบเนื่องมาจากการที่ในปีพุทธศักราช 2477 รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน และมีกรรมการท่านอื่นร่วมด้วยดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ พระเจนดุริยางค์ หลวงชำนาญนิติเกษตร จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะ ผลการตัดสินปรากฎว่า มีเพลงชาติแบบไทย และแบบสากล อย่างละเพลงคือ แบบไทยได้แก่เพลงชาติของจางวางทั่ว พาทยโกศลที่แต่งขึ้นจากเพลงไทยเดิมชิ่อว่า “ตระนิมิตร” ส่วนทางสากลได้แก่ เพลงของ พระเจนดุริยางค์ ที่แต่งไว้แล้ว ในเวลาต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ ได้พิจารณาว่า เพลงชาตินั้นควรจะมีลักษณะ ที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีสองเพลงอาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ลดลง จึงร่วมกันพิจารณาใหม่ ในที่สุดตกลงว่าให้มีทางสากลเพลงเดียวคือ แบบทำนองสากลของพระเจนดุริยางค์ จึงได้จัดให้มีการประกวดบทร้องขึ้นใหม่ คณะกรรมการได้สรุปผลให้บทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล และบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา ได้รับรางวัล และตัดสินให้บทร้องของขุนวิจิตรมาตราได้รับรางวัลชนะเลิศ



พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(พระนามเดิม พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ,ม.จ.ก.,ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม)
หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี)
จางวางทั่ว พาทยโกศล
นายมนตรี ตราโมท
นายฉันท์ ขำวิไล

บทร้องที่คณะกรรมการคัดเลือกมีดังนี้
บทของนายฉันท์ ขำวิไล

เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม
ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา
แม้ถึงไทยไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า
ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี
เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้
ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสระเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย
จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย
มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายอยู่มุ่งหมายเชิดชัย ไชโย

บทของขุนวิจิตรมาตรา

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาสามัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไท ไชโย

ในปีพุทธศักราช 2482 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่า “สยาม” มาเป็น “ไทย” ทำให้จำต้องแก้ไขบทร้องในเพลงชาติด้วย รัฐบาลจึงได้จัดประกวดบทร้องเพลงชาติไทยขึ้นใหม่ผลการประกวด ปรากฎผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ส่งเข้าประกวดในนามกองทัพบก และให้ใช้ทำนองขับร้องเพลงชาติไทย ของพระเจนดุริยางค์ ตามแบบที่มีอยู่เดิม (ดังได้กล่าวแล้วในย่อหน้าแรก) กลายเป็นเพลงชาติลำดับที่ 7 (ปัจจุบัน) ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้


“ ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย ”

พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ มีความปราบปลื้มและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับได้สั่งเสียบุตร ธิดา ไว้ว่า “ฉันได้สั่งบุตรธิดาของฉันไว้ทุกคนว่า ในกาลภายหน้าเมื่อถึงวาระที่ฉันจะต้องเกษียณอายุลาโลกไปแล้ว ขณะใกล้จะขาดอัสสาสะ ขอให้หาจานเสียงเพลงชาติอันนี้ มาเปิดให้ฟังให้จงได้ เพื่อบังเกิดความชุ่มชื่นระรื่นใจ อันไม่มีเสื่อมคลายตราบสิ้นปราณ”

นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)
โน้ตเพลงชาติไทย ปัจจุบัน

- - ด ด- - ม ซ- - - ซ- - ซ ล- - ท ด- - ร ม- - - ม
- - ม ม- - ร ด- - ล ซ- - ล ท- - ด ม- - ด ร- - ด ด
- - - ด- - ด ด- - ด ด- - ม ซ- - - ซ- - ซ ล- - ซ ฟ
- - ล ซ- - - -- - ม -- - - ม- - ฟ ม- - - ร- - - -
- - - ร- - ม ร- - ด ด- - - -- - - ด- - ม ซ- - - ซ
- - ซ ล- - ซ ฟ- - ล ซ- - - -- - - -- - - ซ- - ล ท
- - ซ ร- - - -- - ร ล- - ท ล- - - -- - - ซ- - - ซ
- - ล ซ- - ฟ ร- - - -- - - ฟ- - ล ซ- - ม ด- - - -
- - - ด- - ม ร- - - ร- - ร ล- - - ท- - ล ซ- - - -
- - - -- - ด ด- - ม ซ- - - ซ- - ซ ล- - ท ด- - ร ม
- - - -- - - -- - ร ด- - ล ซ- - ล ท- - ด ม- - ด ร
- - ด ด- - - -- - - -

Read More

Read More

Read More

ตะลุยทะเลแหวก,กระบี่


วันนี้ลงใต้กันดีกว่าเน๊อะ มาพบเจอกับกระบี่ Krabi lively town lovely people "เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก" คำขวัญสั้นๆง่ายๆแต่ได้ใจความของเมืองกระบี่ ทำให้ใครๆที่ได้อ่านจำได้อย่างรวดเร็ว เเทบไม่ต้องทวนอีกรอบ หุหุ ได้มีโอกาสไปเยื่อนกระบี่ถึงจะเป็นเพียงแค่เวลาไม่กี่วัน แต่กลับรู้สึกอิ่มกับการซึมซับบรรยกาศแบบทะเลใต้ด้านฝั่งอันดามันได้อย่างจุใจทีเดียว

ส่วนที่เหลือ
มองหาที่พักที่เป็นจุดศูนย์กลางการออกทะเลไปตามเกาะต่างๆ อย่างเช่น อ่าวนาง เริ่มทริปแรกแบบสบายๆๆ ที่ทริป 4 เกาะ คือ เกาะไก่ ที่เรียกว่าเกาะไก่ก็เพราะว่าทางด้านปลายสุดของเกาะมีหินแหลมๆ เมื่อมองขึ้นไปแล้วคล้ายคอไก่ บ้างก็ว่าคล้ายๆ ไก่งวง จะคล้ายอะไรก็แล้วแต่คนมองจะจินตนาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่เราว่าเหมือนไก่ เกาะไก่เป็นเกาะที่เราสามารถหยุดเรือแล้วลงไปว่ายน้ำแข่งกับปลาเสือได้โดยต้องหลอกล่อปลาให้มาเล่นกับเราด้วยการให้ขนมปัง โรยไว้รอบๆตัวแล้วปลาก็จะมาอยู่ล้อมรอบเรา โอย...เสียปลาตอดๆๆ เจงๆๆ เกาะไก่ เกาะทับ แล้วก็เกาะหม้อ เป็นอีก 3 เกาะเด่นที่อยู่ในหมู่เกาะปอดะ เมื่อน้ำลด ทั้งสามเกาะจะถูกเชื่อมต่อเข้าหากัน ด้วยหาดทรายที่ขาวสะอาดทอดยาว ความสวยงามนี้เองทำให้ทั้งสามเกาะนี้นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทะเลแหวก Unseen อีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย และเป็นที่ที่เราจะพูดถึงต่อไปนี้เอง ป่ะลุยยยย

บริเวณทะเลแหวกที่เราสามารถเดินเหยียบทรายขาวละเอียด จากเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่งได้เวลาน้ำลด ซึ่งเป็นหนึ่งใน Unseen Thailand ที่เป็นความภูมิใจของชาวกระบี่ที่มีจุดสวยงามอย่างมหัศจรรย์ เช่นนี้ไว้ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกได้ชื่นชมกันเมื่อสันทรายโผล่เพราะน้ำลด ทะเลแหวกเกิดจากสันทรายจากเกาะสามเกะคือเกาะไก่ เกาะหม้อ เกาะทับ ทั้งสามเกาะนี้ อยู่ใกล้ๆ มีสันฐานติดกันเมื่อมีคลื่นพักทรายมาพบกันที่จุดนี้จึ่งทำให้เกิดเป็นแนวสันทรายที่สามารถเชื่อมเกาะทั้งสามเกาะนี้ให้ถึงกัน สันทรายนี้จะจมหายไปเมื่อน้ำขึ้นสูง และเมื่อน้ำลดแนวสันทรายก็จะค่อยๆโผล่ ขึ้นมาทีละนิดเหมือนกันว่าแบ่งทะเลให้แยกออกกันเป็นสามส่วน แต่ถึงสันทรายจะไม่โผล่ขึ้นมาเราก็สามารถเดินเล่นได้ หาดทรายของทะเลแหวกนั้น ขาวสะอาดจริงๆ ทุกครั้งที่น้ำท่วมทรายก็เหมือนกับเป็นการทำความสะอาดหาดทรายไปในตัว พวกเศษขยะจะหายไปตามคลื่นเมื่อน้ำขึ้น ส่วนช่วงเวลาที่ควรมาเที่ยวทะเลแหวกก็เป็นช่วง พฤศจิกายน ถึง ต้นเดือนพฤษภาคม รับรองไม่ผิดหวัง

ต่อด้วยเกาะทับ เกาะที่เราสามารถมองเห็นปะการังน้ำตื้นได้โดยที่ไม่ต้องลงไปดำกันลึกๆ....แวะพักเล่นน้ำให้ความสวยของทะเลแทรกซึกกันเข้าไปในร่างกายเลย ในบรรยากาศอันเงียบสงบ(ต้องไปวันเวลาไม่ใช่ในช่วงเทศกาลนะถึงจะได้อารมณ์อย่างที่บอก) หาดทรายขาวละเอียดที่เกาะปอดะ ความขาวสะอาดของทรายทำให้เราอดใจที่จะยอมตัวดำลงไปเล่นกับเม็ดทรายที่ละเอียด นุ่มมือ เล่นกันจนลืมเวลา ว่าเวลาได้ล่วงเลยไปเร็วมาก และแล้ววันนี้เราก็จบทริปแรกด้วยการว่ายน้ำทะเลใสนั่งเเละนอนมองฟ้าใสๆ อากาศสบายๆสดชื่นปอด บนหาดทรายขาวละเอียดนุ่ม รอที่จะพบกับความสวยงามจากธรรมชาติที่เป็นไฮไลท์ของงานก็คือ การได้นั่งรอชม รอถ่ายภาพ พระอาทิตย์ตัดกับขอบทะเล เหมือนเป็นของขวัญจากธรรมชาติปิดท้ายการเที่ยววันแรกให้สมบูรณ์แบบได้อย่างลงตัวจริงๆๆ ขอบอกว่าบรรยากาศโรแมนติกมากๆก๊าบ พี่น้อง

ส่วนเรื่องการเดินทางไปยัง ทะเลแหวก เกาะปอดะ เกาะไก่จากอ่าวนาง ก็จะมีเรือให้เช่าเหมาลำให้บริการพานักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมทะเลแหวก หรือ หมู่เกาะปอดะซึ่งการเดินทางไปยัง ทะเลแหวก นี้จะไม่มีเรือโดยสารแบบประจำทางจะต้องเช่าเรือเหมาลำซึ่งมีให้เลือกทั้ง เรือหางยาวช้าหน่อยแต่ได้บรรยากาศ ร้อน ตื่นเต้น โต้คลื่น ถ้าไม่ใจก็อย่าเลยดีกว่า อิอิ หรืออีกแบบก็ เรือ Speed boad หรูหรา ไฮโซ หากเน้นความเร็วในการเดินทาง

ค่าใช้จ่ายสำหรับการมาเที่ยว ทะเลแหวก เกาะปอดะ เกาะไก่
แพคเก็จเดินทางโดยเรือหางยาว ราคาท่านละ 350 - 450 บาท แพคเก็จเดินทางโดยเรือสปีดโบ๊ท ราคาท่านละ 800 - 1,000 บาท ราคาจะอยู่ประมาณนี้ แต่ว่าตอนนี้น้ำมันแพงไม่รู้ว่าเท่าไหร่แว้วหง่ะ ยังไงก็น่าจะไม่แพงไปกว่านี้แล้วน้า โรงแรม & รีสอร์ทใน ทะเลแหวก เกาะปอดะ เกาะไก่ มีมากมายหลายราคามาให้เลือกสรรกัน เลือกเอาตามความชอบ ของเงินในกระเป๋านะค่ะ พักถูกๆก็ได้ เพราะว่าเราจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับทะเลมากกว่า โรงแรมเอาไว้นอนข้ามคืนเท่านั้น หุหุ ดูรายละเอียดที่พักราคาถูกได้ที่ Hotelsthailand.com ชอบสไตล์ไหนก็ลองเลือกดูนะจ๊ะ หุหุ ได้ดูภาพกันไปแล้วอยากไปมั่งม้า เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมรอไปอีกไม่กี่เดือนก็จะถึงฤดูที่เที่ยวทะเลแหวกกันเเล้วประมาณเดือนพฤศจิการยน - พฤษาภาคมนะ ถ้ายังไม่มีแผนการเดินทางไปเที่ยวไหนในช่วงเวลานี้ก็ลองรับทะเลแหวกเป็นหนึ่งในตัวเลือกก็ได้นะค่ะ เรียกได้ว่าไปเที่ยวที่กะบี่ที่เดียว เที่ยวได้หลายเกาะสวยๆของกะบี่ตั้งเยอะ คุ้มเกินคุ้มก๊าบ ยังไงเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมแล้วไปสัมผัสกับความสวยงามที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมากันได้เลย

Read More

Read More

Read More

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

สมุทรสาคร-มหาสารคาม

google maps


ดู แผนที่จาก google ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า